จำนองที่ดิน จะต้องจำนองกับสถานที่ที่มีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ง่าย

จำนองที่ดิน จะต้องจำนองกับสถานที่ที่มีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ง่าย จำนอง คือ การที่ “ผู้จำนอง” เอาทรัพย์สินของตนตราไว้แก่ “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง ทรัพย์ที่นิยมจำนอง คือ จำนองที่ดิน จำนองบ้าน คอนโดมิเนียม ห้องชุด การจำนอง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จำนอง ซึ่งเอาทรัพย์สินของตนเอ ตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง โดยสัญญาจำนองจะต้องทำเป็นหนังสือสัญญาและต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน

การใช้ที่ดินเป็นหลักประกันในการกู้เงินกับธนาคาร เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ซึ่งในการจำนองที่ดินนั้น ผู้ที่นำที่ดินไปจำนอง ยังคงมีสิทธิในการจับจองทรัพย์สินนี้หรือโฉนดที่ดินที่นำมาจำนองไว้กับธนาคารอยู่ ในขณะเดียวกัน หากมีการกระทำผิดสัญญาของการจำนองที่ดินกับธนาคารที่ได้ระบุไว้ในสัญญา เช่น ไม่จ่ายหนี้ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ ผู้รับจำนองหรือธนาคารที่รับจำนองก็มีสิทธิที่จะนำโฉนดที่ดิน ที่ผู้จำนองได้จำนองเอาไว้ ไปขายต่อสู่ท้องตลาดได้อย่างไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ซึ่งในการ จำนองที่ดิน นั้น ผู้ที่จำนองก็ต้องมีค่าธรรมเนียมในการจำนองที่ดินกับธนาคารด้วยเช่นกัน

ผลการทำสัญญาจำนอง
1. ทำให้ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ
2 ทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสามารถนำไปจำนองกับผู้รับจำนองได้หลายคน โดยเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เรียงตามลำดับวันที่จดทะเบียน
3 สิทธิจำนองย่อมมีผลไปถึงทรัพย์สินที่จำนองทุกสิ่ง แต่ไม่รวมดอกผลที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินนั้น
4 ถ้ามีการจำนองกันหลายคน โดยมิได้ระบุลำดับการจำนองไว้ ผู้จำนองคนหนึ่งคนใดได้ชำระหนี้ไปแล้ว ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้จำนองรายอื่น
5 เมื่อมีการโอนทรัพย์สินที่จำนองไปให้ผู้อื่น สิทธิในการจำนองนั้น ย่อมโอนติดไปกับทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
6 ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอากับดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้

รูปแบบของการจำนองที่ดิน
การจำนองที่ดินกับธนาคารจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ การจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง และการจำนองที่ดินเพื่อค้ำประกันให้ผู้อื่นเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น ซึ่งจะมีรายละเอียดของการจำนองที่ดินดังนี้

การจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง
การจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง ซึ่งในการจำนองเพื่อชำระหนี้ของตัวเองนี้จะมี ผู้จำนอง คือเจ้าของที่ดินหรือตัวผู้ที่จำนองเอง และ ผู้รับจำนอง คือผู้ที่รับจำนองที่ดินหรือธนาคารที่เป็นผู้รับจำนองที่ดิน ตัวอย่างเช่น การที่เรานำโฉนดที่ดินของตัวเอง ไปจำนองต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ของตนเอง

การจำนองที่ดินเพื่อค้ำประกันให้ผู้อื่นเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
การจำนองที่ดินเพื่อค้ำประกันที่ดินให้ผู้อื่น ซึ่งในการจำนองครั้งนี้จะประกอบไปด้วย ผู้จำนอง, เจ้าของที่ดิน และผู้รับจำนองหรือธนาคารที่รับจำนอง เปรียบเสมือนการที่เราเป็นนายหน้า ในการนำที่ดินของตนเอง ไปยื่นค้ำประกันในการชำระหนี้ให้กับบุคคลอื่น เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ระหว่างผู้ที่มาขอให้ค้ำประกันกับธนาคารผู้รับจำนอง